วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มงคลสูตรคำฉันท์

ความเป็นมา

    เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง

   แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์

โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง

ผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ลักษณะคำประพันธ์

กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์11

เรื่องย่อ

   สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลสูงสุด 38 ประการ ไว้ในมงคลสูตรซึ่งสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา มงคลสูตรปรากฏในพระไตรปิฏก ขุททกนิกาย หมวดทขุททกปาฐะ

เนื้อเรื่อง

๑ สิบสองฉนำเหล่า        นรอีกสุเทวา

   รวมกันและตริหา        สิริมังคลา

๒  เทวามนุษย์ทั่ว           พหุภพประเทศใน

     หมื่นจักรวาล              ดำริสิ้นจิรังกาล

     แล้วยังบ่รู้มง-             คละสมมโนมาลย์

    ด้วยกาละล่วงนาน       บ่มิได้ประสงค์สม

     ได้เกิดซึ่งโลกา-           หละยิ่งมโหดม

     ก้องถึงณชั้นพรหม      ธสถิตสะทือนไป

ฯลฯ

 วิเคราะห์

คุณค่าด้านเนื้อหา

มงคลสูตรคำฉันท์นอกจากจะมีการแปลถอดความมาจากพระคาถาแล้ว ยังมีการอธิบายขยายมงคลเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การสรรคำ   การเลือกสรรคำเป็นอย่างดี

การเลือกใช้คำประพันธ์  การเลือกใช้กาพย์ฉบัง16 และ อินทรวิเชียรฉันท์ 11 สามารถประพันธุ์ได้ตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี

การแปลถอดความ  การภาษาบาลีเป็นบทร้อยกรอง  ประเภทคำฉันท์ ทรงแปลถอดความได้อย่างสละสลวย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น